iPhone5 android รุ่นx8

iPhone5 android รุ่นx8
จากใต้หวัน ราคา 2900 บาท

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำท่วม 2554

ข่าวน้ำท่วม

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก  คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา, คุณสะใภ้อินเตอร์ และ คุณกรรมกร

         น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!

          สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลจาก คุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่

          และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ รวมถึงไอเดียเจ๋ง ๆ ของ คุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้าน นอกจากนี้ ยังมีวิธีทำประตูกั้นน้ำแบบถาวรของ คุณกรรมกร ซึ่งสามารถทำเองได้...มาฝากกันจ้า

          นอกจากนั้นแล้ว คุณ ทองกาญจนา ยังได้แนะนำเพิ่มเติมสำหรับ วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน มาฝากกันเพิ่มเติมอีกด้วย ...ไปดูวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านแบบต่าง ๆ กันเลย...

วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน by คุณทองกาญจนา

1. ส่วนที่ติดตั้งไว้ถาวรบริเวณประตูรั้วบ้าน

         - ทำกรอบรางเหล็กติดไว้ที่เสารั้วทั้งสองด้าน และฝังไว้ที่พื้น


         - รางเหล็กนี้มีขนาดกว้าง 2 นิ้ว ติดตั้งไว้ถาวร บริเวณขอบที่ติดกับเสาประตูรั้วพ่นด้วยซิลิโคน


         - ตรงกลางรางเหล็กที่ฝังไว้ที่พื้นจะเชื่อมด้วยเหล็กเส้นเพื่อใช้เสียบเสากลาง


         - และยังเจาะรูที่พื้น 2 รู เพื่อเสียบเสาค้ำยัน

2. ส่วนที่ถอดออกได้


         - ประกอบด้วย บานเหล็ก 2 บาน, เสากลาง และ เสาค้ำยัน


         - เสากลางเป็นรางเหล็กที่มีขนาดความกว้างเท่ากับที่ติดตั้งไว้ที่ประตูรั้ว นำด้านหลังมาเชื่อมให้ติดกัน และที่โคนเสาทำบากตามภาพ เพื่อให้เสียบลงไปบนรางเหล็กในภาพที่ 3 ได้


         - เสียบลงไปแล้วจะมีลักษณะนี้

3. การติดตั้งใช้งาน


         -เสียบแผ่นบานเหล็กแผ่นแรกเข้าไปในกรอบให้ชิดข้างเสารั้วด้านใดด้านหนึ่ง


         - ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยขอบของบานเหล็กกับกรอบราง ทั้งบริเวณเสารั้วและที่พื้น หรือจะใช้ซิลิโคนยิงตามขอบก็ได้ เพื่อกันน้ำซึมเข้าไป (แต่กันไม่ได้ 100% ต้องใช้เครื่องสูบน้ำหรือไดรโว่ ช่วย)


         - เสียบเสากลาง ประกบเข้าไปที่ด้านข้างของบานเหล็กด้านขวามือ ติดตั้งเสาค้ำยัน ยึดกับบานเหล็กด้วยสกรูและน๊อต


         - หลังจากนั้นก็ยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่ง ค่อย ๆ สวมลงไปในกรอบรางเหล็ก และติดตั้งเสาค้ำยันที่เหลือ แต่ถ้าต้องประกอบด้วยตนเองเพียงคนเดียว ควรยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่งวางเข้าไปในรางเหล็กก่อน แล้วจึงนำเสากลางเสียบลงไปจากด้านบน ในระหว่างรอยต่อของแผ่นเหล็กแต่ละบาน จะเบาแรงกว่ากันมาก แล้วก็อย่าลืมอุดดินน้ำมัน(หรือพ่นซิลิโคน) ในจุดรอยต่อให้ทั่วถึงด้วยนะ


         - ประตูรั้วบ้านของเราก็พร้อมที่จะป้องกันน้ำเข้าท่วมบริเวณบ้านแล้ว


ประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) by คุณกรรมกร

          ในช่วงที่ช่างปูนหายาก แถมทรายยังขาดตลาดอีก คุณกรรมกร จึงไม่อยากรอช้าตัดสินใจทำประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ที่บ้านน้ำยังไม่ท่วม แต่ต้องเตรียมการไว้แบบถาวรน่าจะดีกว่า โดย คุณกรรมกร เรียกช่างเหล็ก (พับ ตัด เจาะ) มาดูหน้างาน จากนั้นก็บอกรูปแบบและวิธีใช้งาน ส่วนรายละเอียดย่อยต่าง ๆ เช่น เรื่องซีลรอยรั่ว คุณกรรมกร ขอจัดการเอง ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาทำ 2 วัน (ตัด-พับ 1 วันครึ่ง / ทดลองติดตั้งครึ่งวัน)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          เริ่มต้นจากวัดความกว้างของประตูและความสูงของแผ่นกั้นตามต้องการ จากนั้นสั่งพับเหล็กแผ่น ความกว้างน้อยกว่าขนาดจริงของประตู 1 เซนติเมตร เผื่อยกเข้าออกจะได้ไม่แน่นเกินไป เจาะรูตรงตามรูที่เสาเหล็กฉาก และตัดเสาเหล็กฉากตามความสูงของแผ่นกั้น เจาะรูสำหรับยึดสกรูด้านที่แนบกับผนังปูน เจาะรูอีกด้านของเหล็กฉากเพื่อใส่น็อตยึดแผ่นเหล็ก ตะไบรูน็อตเผื่อให้กว้าง (สูง) ขึ้นเล็กน้อยเผื่อใส่ตัวซีล (โฟมยาง)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ติดตั้งเสาเหล็กฉากทั้ง 2 ด้าน ใช้สกรูตัวไม่ต้องใหญ่มาก (ถอดเก็บง่าย) เว้นระยะให้เหมาะสม พร้อมยิงซิลิโคนด้านนอกให้เรียบร้อย

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

หน้าตาแผ่นเหล็ก(เจาะรูน็อต)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ติดกาว 2 หน้าแบบบาง 3 ด้าน ด้านล่างและด้านข้าง 2 ด้านที่แผ่นเหล็ก (สำหรับแผ่นที่ต้องต่อกัน 2 ชั้น ติดโฟมยางด้านบนด้วย) ตัดโฟมยางเป็นเส้นตามขอบ ติดแนบลงไป

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ทดสอบการติดตั้ง ใส่น็อตยึดให้เรียบร้อย (หัวน็อตควรรองด้วยแหวนยาง) แผ่นยกประกบกับเสาได้ง่ายกว่าเสียบแบบรางหรือร่อง น้ำหนัก (ผู้หญิง) ยกได้สบาย ติดตั้งเองก็ง่ายครับ ใส่น็อตหรือขันน็อตเป็นก็ติดตั้งได้เอง

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน
          สามารถถอดเก็บได้เพียงถอดน็อตที่แผ่น ถอดสกรูที่เสาและแซะซิลิโคนออก หรือจะเก็บเฉพาะแผ่นแล้วติดตั้งเสาทิ้งไว้ ก็ไม่น่าเกลียด

          ทั้ง นี้ ฝากไว้เป็นทางเลือกสำหรับบ้านที่มีประตูหรือกำแพงแบบนี้ครับ อาจจะเสียงบประมาณมากไปนิด แต่ก็แข็งแรง ทนทาน และเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไป หรือจนกว่าจะผุพัง อย่างไรก็ตาม ไม่รับประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่มีน้ำ หยดน้ำ เล็ดลอดเข้ามา เพียงหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะพอบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อน ๆ พี่น้องเราได้ครับ


วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี by คุณสะใภ้อินเตอร์


           คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ ... มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันค่ะ


สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553



สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


ปีนี้เลยกั้นเหล็กให้สูงขึ้น



และหาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้


แล้วยึดด้วยกลอนสองชั้น


วิธีเข้าบ้านต้องเข้าแบบนี้ (อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ)


ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง


จะเห็นได้ว่า น้ำไม่สามารถเข้าบ้านได้


อย่าลืมอัดซิลิโคนที่ประตูหลังด้วย


ภาพด้านซ้ายคือ ภาพรถที่ไม่ได้ป้องกันน้ำท่วม ส่วนภาพด้านขวาเลยหาคันยก และยกให้สูงขึ้น




การอัดซิลิโคนตามร่อง


ภาพน้ำท่วมเมื่อปีก่อน ๆ ใช้ดินน้ำมันอุด แต่ไม่สามารถกั้นน้ำได้


ส่วนภาพนี้ใช้กระสอบทราย ซึ่งก็มีน้ำไหลซึมตลอดเวลา




วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา

ข่าวน้ำท่วม

เตรียมการก่อน

         ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

         (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

         (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

         (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

         (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว

         เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

         เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

ภาพบรรยากาศ

         ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

ข่าวน้ำท่วม

         เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

ข่าวน้ำท่วม

         ขณะ ที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที

ข่าวน้ำท่วม

         ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

ข่าวน้ำท่วม

         บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

ข่าวน้ำท่วม

         อีกภาพหนึ่ง

ข่าวน้ำท่วม

         หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ


วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์


         จาก วิกฤติน้ำท่วม อย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน และหลังจากที่มีข่าวมาว่า หลายเขื่อนรองรับน้ำอย่างเต็มพิกัดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก็คงทำให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังต่าง ๆ รวมถึงคนในกรุงเทพฯ ล้วนตื่นตัว และไม่รอช้าที่จะเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

             ด้วยเหตุนี้ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ













รวมบัญชีธนาคารและจุดรับบริจาค น้ำท่วมไทย สค.-ตค. 54

บริจาคเงิน

  • ศูนย์อาสาฯ มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607
  • สำนักนายกฯ ธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ประเภทออมทรัพย์เลขที่ 067-0-06895-0
  • อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม 015-015-999-4 ธ.กรุงไทย สาขาอโศก
  • ระบุ จะช่วยเหลือราษฎรที่ดินโคลนถล่ม ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์  ธ.กรุงไทย เลขบัญชี 537-0-20286-9  (ที่ว่าการอำเภอน้ำปาด โทร. 055-481-045)
  • บัญชีมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 020-2-53333-8 ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ หรือบริจาคได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสร้าน 7-11 ทุกสาขา
  • สถานีโทรทัศน์ สปริง นิวส์ บัญชี “ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย” ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0
  • มูลนิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3  เว็บไซต์อยู่ที่ http://www.opencare.org/relief/opencare-volunteerfund
  • บัญชี “ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54″ กระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ 014-3-00444-8
  • AIS  DTAC และ TrueMove  ร่วมกับครอบครัวข่าว 3 ขอเชิญชวนลูกค้ามือถือทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่าน SMS ข้อความละ 10 บาท โดยพิมพ์ “3” หรือข้อความใดๆ และส่งมาที่หมายเลข 4567899  เงินบริจาคที่ได้รับทั้งหมดมอบให้ครอบครัวข่าว 3 โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
  • กรุงเทพมหานคร: บัญชี “กองทุนกรุงเทพมหานครช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ธ.กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร เลขที่ 027-0-17081-2
  • มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย” 111-3-90911-5 ลดภาษี ฟรีค่าโอนข้ามเขต
  • กองทัพอากาศ ขอเชิญบริจาคซ่วยนำ้ท่วม ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทอ. โทร 02-534-2096,02-534-1700 ต่อ 15
  • “วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม” กรุงไทย/ออมทรัพย์ สาขารัฐสภา เลขที่บัญชี 089-0-22222-3 หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวุฒิสภา 1102
  • บริจาค เงินช่วยผู้ประสบภัย กับสภากาชาดไทย ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ บช. “สภากาชาดไทยช่วยผู้ประสบอุทกภัย”กระแสรายวัน 045-3-04190-6 สอบถาม 1664

บริจาคสิ่งของ

  • อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม (พรรคประชาธปัตย์) ถ.เศรษฐศิริ เขตพญาไท Link -> http://www.facebook.com/AsaThai
  • เต๊นท์ดุสิตธานี สีลม ทุกวัน-2 ตุลาคม ต้องการข้าวสารถุง  5 กก.  น้ำตาล น้ำปลา น้ำมันพืช อาหารแห้ง ไปอยุธยาอ่างทองสิงห์บุรี
  • ศูนย์รับบริจาค อาสาดุสิต หอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก http://www.arsadusit.com/6242
  • สถานี วิทยุ FM 96.75 MHz เปิดศูนย์รับบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ข้าวสาร  อาหารแห้ง  ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถามที่ 0-5581-7716-7 เว็บไซต์ที่ http://ow.ly/6r1sS
  • กทม.เปิด”ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ที่ลานคนเมือง(เเสาชิงช้า) ศาลาว่าการกทม. และที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
  • กลุ่ม จิตอาสาอิสระ  รับบริจาคตั้งแต่วันที่ 16 – 24 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 10:00 -14:00 น. สถานที่รับบริจาค: ชั้น 1 “อาคารดัสเชสพลาซ่า” ทองหล่อ 13-15 สุขุมวิท 55 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
  • รับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อาหารแห้งช่วยน้ำท่วมที่ SCB รัชโยธิน ข้างพิพิธภัณฑ์ธนาคารถึง 30 ก.ย.นี้
  • Thai PBS เพื่อผู้ประสบภัย เตรียมลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม ท่านสามารถบริจาคสิ่งของได้ที่ รายการสถานีประชาชน 02-790-2111
  • บริจาคช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วมเชียงใหม่ที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบิน 41 โทร 053-202609 ต้องการทั้งอาหารสดและแห้ง
  • ร่วมบริจาคสิ่งของหรือบริจาคเป็นจตุปัจจัยได้ที่ ธรรมวิจัย มจรวังน้อย และธรรมวิจัย มจร วัดมหาธาตุ โทร 0-2222-2835 , 035-248-000
  • หอศิลปกรุงเทพ(แยกปทุมวัน)1-30 ต.ค.10.00-19.00 น.โปรดบริจาคของตามรายการนี้ http://t.co/bymBMieV
  • โรงแรมไนซ์พาเลซ ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8
  • สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอเชิญบุคลากร นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคอาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177 , 3781-4 , 0-2329-8110
  • ม.มหาจุฬาฯร่วมวัดสระเกศ เปิดรับบริจาคน้ำท่วม 0-2621-2280 หรือที่ฝ่ายธรรมวิจัย ม.มหาจุฬาฯ 0-2222-2835, 035-248000
  •  ศิริราชรับบริจาคเงิน เครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เวลา 08.30-16.30 น. ที่โถงอาคาร 100 ปี โทร 0-2419-7646-56
หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช

          - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ

          - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา" เลขบัญชี  301-0-86149-4

  2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

          - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

  3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

  4. กรมอุตุนิยมวิทยา

          - เว็บไซต์ tmd.go.th

          - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

  5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - เว็บไซต์ disaster.go.th

          - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

          - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

  6. กรุงเทพมหานคร

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

  7. สภากาชาดไทย

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาด
ไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงาน
การคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมาย
เลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

          - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ  หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

          รายการชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย (สภากาชาดไทย) 1 ชุด ประกอบด้วย

          1.  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  จำนวน  30 ซอง

          2.  ปลากระป๋อง  จำนวน  6  กระป๋อง

          3.  ผักกาดดอง  จำนวน  6  กระป๋อง

          4.  ปลาราดพริก  จำนวน  6  กระป๋อง

          5.  ข้าวหอมมะลิกระป๋อง 150 กรัม  จำนวน  6 กระป๋อง

          6.  น้ำพริก  จำนวน  2  กระปุก

          7.  ไก่ทอดกระเทียม  จำนวน  2  กระป๋อง

          8.  เครื่องดื่มช็อคโกแลตผง 3 in 1 (1X6 ซอง)  จำนวน  2  ถุง

          9.  ข้าวสาร (5 กิโลกรัม)  จำนวน  1  ถุง

          10.  โลชั่นกันยุง  จำนวน  1  ขวด

          11.  เทียนไข (1X2 เล่ม)  จำนวน  1  กล่อง

          12.  ไฟแช็ค  จำนวน  1  อัน

          13.  กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน  จำนวน  1  ชุด

          14.  ยาสามัญประจำบ้าน  จำนวน  1  ชุด

          15.  ยาแก้น้ำกัดเท้า  จำนวน  1  หลอด

          16.  เกลือไอโอดีน  จำนวน  1  ถุง

          17.  ถุงขยะสีดำ ขนาดเล็ก  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

          18.  ถุงขยะสีดำ ขนาดใหญ่  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

  8. กองบัญชาการ กองทัพไทย

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร 6) ตลอดเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-575-1500

  9. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซีคอนสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป เพื่อโครงการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 095-2-71929-7 

  10. สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 + ครอบครัวข่าวช่อง 3

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์สี่ ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 และสามารถช่วยบรรจุหีบห่อได้ที่หน้าอาคารได้เลย แผนที่คลิกที่นี่
          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" เลขที่บัญชี 014-3-00368-9

          - สามารถพิมพ์ข้อความ namjaithai แล้วส่ง sms ไปที่หมายเลข 4567899 ได้ทั้งเครือข่าย AIS, DTAC ครั้งละ 10 บาท

  11. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ หน้าสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5 สนามเป้า  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 021-2-69426-9

12. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.
          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ตึกอสมท. ถ.พระราม9 เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่คลิกที่นี่
 
          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 015-0-12345-0 สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-0700-4

  13. กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 NBT

          - สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ จะเป็นสื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" โดยยกเลิกผังรายการเดิมทั้งหมด 

          - สำหรับการรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-275-2053 แผนที่คลิกที่นี่


  14. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7, 02-791-1113 หรือ people@thaipbs.or.th สามารถไปบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง, ข้าวของเครื่องใช้ ได้ที่ ตึกชินวัตร3  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 020-2-69333-2
  15. จส. 100

          - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

  16. มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" บัญชีเลขที่บัญชี 111-3-90911-5 บริจาคผ่าน ATM / สาขา SCB ไม่เสียค่าโอน

  17. ธนาคารออมสิน

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 0-2888888888-1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว

  18. โรงแรมดุสิตธานี

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม ได้ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันพุธที่ 20 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น.

  19. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

          - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-465-6165

  20. การรถไฟแห่งประเทศไทย

          - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690

  21. ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 

          - ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

  22. บริษัทขนส่ง

          - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

 
  23. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7
 

 
           - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1


          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1 
 
 
 
  

 
  24. มูลนิธิซีเมนต์ไทย
 

 
          - สามารถบริจาคอาหาร ผ้าอนามัย กางเกงในกระดาษ กระดาษทิชชู ถุงขยะ เทียนไข และไฟแช็ค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-586-3415

  25. จุดรับบริจาคของคนเสื้อแดงกลุ่ม Red Cyber

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าแฟชั่นมอลล์ (จอดรถข้างหน้าได้เลย) และบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5 ที่สถานีเอเชียอัพเดท

  26. DTAC

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ DTAC อาคารจามจุรีแสควร์ ถึงวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2553

  27. มูลนิธิกระจกเงา

          - สามารถไปบริจาคข้าว สาร, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม และยารักษาโรค ช่วยเหลือพี่-น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ)  8/12 ซ.วิภาวดี44  ถ.วิภาวดีรังสิต  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" เลขที่บัญชี    000-0-01369-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  087-274-9769 (เอ), 02-941-4194-5 ต่อ 102 (เอ,สุกี้)
28. กรมทางหลวง

          - สายด่วนกรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          - สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6530, 02-354 -6668-76 ต่อ 2014 ,2031

          - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6551

          - ตำรวจทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1193

29 . องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

          - สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1490 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในบริจาคสิ่งของ

30 . ศูนย์ กทม.

          - ติดต่อขอความช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ ได้ที่สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1555 และ 02-248-5115 ตลอด 24 ชั่วโมง


31. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-590-9554, 02-590-9559 และ 02-950-9557

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ชาว กฟภ. รวมใจช่วยผู้ประสบภัย" เลขที่บัญชี 073-1-09891-9

32. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารจามจุรี 9 ชั้น 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ถึง วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.

33. สถานีโทรทัศน์ SpringNews

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนวิภาวดีรังสิต บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ร่วมมือร่วมใจเพื่อผู้ประสบภัย" เลขที่บัญชี 196-0-75084-0


34.มูลนิธิ 1500 ไมล์

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาเทสโก้ โลตัส ศาลายา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิ ๑๕๐๐ ไมล์" เลขที่บัญชี 991-2-01500-6

          - สามารถร่วมเดินทางเข้าช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในพื้นที่กับมูลนิธิ 1500 ไมล์ โดยการพายเรือคายัคเข้าพื้นที่ประมาณ 30 ลำ กำลังต้องการอาสาฯ ร่วมภารกิจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @1500miles สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนัท หมายเลขโทรศัพท์ 089-489-9116

35. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

          - พร้อมช่วยเหลือน้ำดื่ม, รถหกล้อ, รถแทรกเตอร์, รถขุด-ตักดิน หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ติดต่อแจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-224-081-5 ,044-224-000

36. สำนักผู้แทนการค้าไทย

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ห้อง 204 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-288-4000 ต่อ 4549, 4597 และ 4545

37. กระทรวงสาธารณสุข

          - ติดต่อสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1323 และ 1667 รับปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

38. ไปรษณีย์ไทย

          - สามารถไปบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

39. พุทธมณฑล

          - สามารถไปบริจาคสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุที่ประสบภัยน้ำท่วม ได้แก่ เครื่องอัฐบริขาร ได้ที่อาคารหอสมุด พุทธมณฑล

40. วุฒิสภา

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ห้องโถง อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ วุฒิสภา หมายเลขโทรศัพท์ 02-244-1777-8 หรือสายด่วนวุฒิสภา หมายเลขโทรศัพท์ 1102

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยรัฐสภา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "วุฒิสภารวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี
089-0-07706-1   

41. โรงพยาบาลศิริราช

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โรงพยาบาลศิริราช ถนนพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

42. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์อาสาสมัคร อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-570-3693, 086-943-4988 และ 089-723-5235

43. มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสาขาย่อยสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" เลขที่บัญชี 401-6-36319-9

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสาขาย่อยสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" เลขที่บัญชี 046-2-44777-2

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-1902, 02-282-9596 หมายเลขโทรสาร 02-281-1423

44. รัฐบาลไทย

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยทำเนียบรัฐบาล บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" เลขที่บัญชี 067-0-06895-0 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-4130 หมายเลขโทรสาร 02-282-5296

45. ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (อุทกภัย) จังหวัดเชียงใหม่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่" เลขที่บัญชี 547-0-37532-3 เปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 20 - 25 ต.ค. 2553


46. ซีพี ออลล์ร่วมกับกองทัพบก

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ร้านเซเว่น-อีเลเว่น ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ

47. ศูนย์รับบริจาคที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ

          - สามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาคที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ

          - ขณะนี้ความจำเป็นเร่งด่วน ชาวบ้านต้องการน้ำดื่ม เรือท้องแบน และอาหารสำเร็จรูป - สอบถามเพิ่มเติม หมายเลขโทรศัพท์ 044-821-333,  044-813-264,  044-811-898

48. ธนาคารเกียรตินาคิน

          - สามารถเข้าไปโพสต์ข้อความเพื่อช่วยเหลือน้ำท่วมได้ที่ Facebook เกียรตินาคิน 1 ข้อความมีค่า 10 บาท ซึ่งธนาคารจะนำเงินทั้งหมดไปมอบให้สภากาชาดไทย เริ่มตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 53

49. สำนักข่าว INN

 
         - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสาธารณประโยชน์ โดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด" เลขบัญชี 013-2-81000-4

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงาน DFM ร่วมด้วยช่วยกัน ซอยรามคำแหง 21 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ

50. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย" เลขบัญชี 206-0-43600-9 และแฟกซ์สำเนาการโอน พร้อมชื่อ ที่อยู่ของผู้บริจาคมาที่ หมายเลข 02-711-4100 ถึง 2

          - สามารถไปบริจาคเงินได้ที่ เว็บไซต์มูลนิธิศุภนิมิต

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-1902, 02-282-9596 หมายเลขโทรสาร 02-281-1423

51.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" เลขบัญชี 980-2-98056-0

  52.  กระทรวงพลังงาน

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขามหานาค บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ช่วยผู้ประสบภัย กระทรวงพลังงาน" เลขบัญชี 156-0-04953-7

53.  มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

         - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" เลขบัญชี 002-2-77762-7

54. มหาวิทยาลัยมหิดล

         - สามารถบริจาคของไปได้ที่ จุดบริจาคที่ลานวัฒนธรรม MU Corner ม.มหิดล ศาลายา

         - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ม.มหิดล ชื่อบัญชี "มหิดลร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 333-2-33585-2

55.  สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย(ส.ท.ท.)

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลายา ชื่อบัญชี "สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ร่วมบริจาคภัยน้ำท่วม)" เลขบัญชี 459-0-29600-4

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย 12/8 ถ.บรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กทม. 10170

          - สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-448-5645

56.  3 องค์กรแรงงาน

         
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย" เลขบัญชี 101-7-97864-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น